วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ชนเผ่าพื้นเมืองในอินเดีย ปลูกสะพานต้นไม้จากภูมิปัญญา 500 ปี!

จำหน่ายเสื้อผ้าแฟชั่น ชุด เสื้อผ้าเกาหลี เสื้อผ้าฮ่องกง เสื้อผ้าไต้หวัน ชุดเดรสแฟชั่น ชุดแซก ชุดทำงาน เสื้อคลุมแฟชั่น ชุดออกงานหรู ชุดเดรสน่ารัก เสื้อคู่แฟชั่น เสื้อคู่รักเกาหลี เครื่องประดับแฟชั่น เข็มขัดแฟชั่น กางเกง จั๊มสูท ผ้าพันคอ เสื้อกันหนาว กระโปรง กระเป๋าแฟชั่น สินค้าคุณภาพเกรด A ราคายุติธรรม
ร้านเสื้อผ้าแฟชั่นร้านนี้ หมวยทำคนเดียวค่ะ ไม่มีหุ้นส่วน สั่งเข้าเอง ส่งสินค้าเอง 
อัพเดทสินค้าเอง หากมีข้อผิดพลาด บางทีเบลอๆ รบกวนแจ้งค่ะ และต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ ^_____^


       แม้โดยทั่วไป เรามักเรียกกระบวนการที่ทำให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดได้เกิดขึ้นมาบนโลกว่า ‘การสร้าง’ แต่ในความเป็นจริงแล้วในกระบวนการสร้าง ก็มักแฝงไว้ด้วย ‘การทำลาย’ อยู่เสมอ แม้กระทั่งในสิ่งก่อสร้างที่ประกอบด้วยวัสดุธรรมชาติ เช่น ไม้ ที่ก่อนจะนำมาใช้งานเป็นวัสดุก่อสร้างได้ ต้นไม้เหล่านั้นจะต้องถูกโค่นหรือตัดเสียก่อน ซึ่งไม่ต่างอะไรกับการฆ่าและเบียดเบียนชีวิต คงจะดีไม่น้อยหากเราจะสามารถสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง โดยไม่ต้องทำลายชีวิตของต้นไม้เหล่านั้น และหนึ่งในตัวอย่างของสิ่งก่อสร้างจากไม้ ที่สร้างขึ้นโดยไม่เบียดเบียนชีวิตของต้นไม้ ตั้งอยู่ในป่าลึกอันห่างไกลของประเทศอินเดีย สิ่งก่อสร้างชิ้นนี้คือ สะพานข้ามลำห้วย ที่สร้างขึ้นจากต้นไม้ที่มีชีวิต



      สะพานที่มีชีวิตนี้ สร้างโดยชาวเผ่ากะสิ (Khasi) ซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในแถบรัฐเมฆาลัย (Meghalaya) รัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ซึ่งในปัจจุบันหนึ่งในสามของรัฐนี้ยังคงปกคลุมไปด้วยป่าไม้ เทคนิคการสร้างสะพานต้นไม้นี้ ชาวเผ่ากะสิได้รับมาจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สั่งสมมาร่วม 500 ปี และสืบทอดกันมาแบบรุ่นต่อรุ่น สะพานในลักษณะนี้จะสร้างขึ้นจากต้นยางอินเดีย (Ficus Elastica) โดยนำไม้มาพาดระหว่าง 2 ฝั่งลำธารที่มีต้นไม้ชนิดนี้ขึ้นอยู่ จากนั้นจึงนำรากอากาศของต้นไม้พันรอบแกนไม้ที่พาด เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะใช้เวลาประมาณ 15 ปี รากไม้เหล่านี้จะเจริญเติบโตจนกลายเป็นสะพานในที่สุด สะพานต้นไม้นี้มีความแข็งแรงเป็นอย่างมาก สามารถรับน้ำหนักคนได้ถึง 50 คน และที่สำคัญในกระบวนการตั้งแต่เริ่มสร้างสะพานจนถึงใช้งานได้ ไม่มีการรบกวนธรรมชาติแม้แต่น้อย ไม่ต่างอะไรกับการปลูกต้นไม้ขึ้นสักต้น

     สะพานที่ทำการ ‘ปลูก’ ขึ้นนี้ จึงถือเป็นสิ่งปลูกสร้างที่สะท้อนให้เห็นถึงระบบโลกทัศน์ของชาวกะสิ ที่ดำรงชีวิตร่วมกับธรรมชาติอย่างเกื้อกูล และมองสิ่งก่อสร้างไม่ต่างจากสิ่งมีชีวิตที่ต้องได้รับการปลูกและดูแลจนงอกงามขึ้นมา สิ่งก่อสร้างของชาวกะสิจึงมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ อย่างที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้









แหล่งอ้างอิง : www.creativemove.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น